Pandanus
Green Ale

STYLE – Experiment Beer
ABV 5.0% | IBU 12
NOTES – Light pandanus leaf, floral notes. Refreshing.

PHROMTHEP SUNSET
SAISON

STYLE – Saison
ABV 5.5% | IBU 25
NOTES – Spring breeze, fruity, clove, hay grass. Bold & Smooth finished.

Phuket Lager

STYLE – Lager
ABV 5.0% | IBU 20
NOTES – Mild & Clean notes. Clean & Dry. Refreshing.

Ruk
Red Lager

STYLE – Vienna Lager
ABV 4.5% | IBU 10
NOTES – Mild, Robust, Earthy notes. Traditional Dry, Crisp, Refreshing.

WILD HONEY
Coffee Stout

STYLE – American Stout
ABV 5.5% | IBU 40
NOTES – Tropical fruit, caramel, dark chocolate. Long espresso finished.

Brew for Good
IPA

STYLE – American Ipa
ABV 6.3% | IBU 64
NOTES – Sales from this Beer will be Donated to Sierra Nevada Camp fire Relief fund Butte County, California, USA Intensive Fruits-pop, Piney, and Citrus notes. Powerful west Coast hops with Balance flavor.

4 สายพันธุ์ฮอปส์ที่เราใช้ผลิตเบียร์ชาลาวัน เพลเอล

คิดว่าทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า HOBS (ฮอปส์) นั้นเป็นวัตถุที่ขาดไปไม่ได้เลยสำหรับการผลิตเบียร์ แต่เกร็ดเล็กๆ ที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนคือฮอปส์แต่ละชนิดนั้นเมื่อสกัดออกมาแล้ว จะให้กลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะออกมา ทำให้เบียร์แต่ละสไตล์ แต่ละยี่ห้อนั้นมีกลิ่นหอมที่แตกต่างกันไปนั่นเอง วันนี้ผมขอหยิบฮอปส์ 4 สายพันธุ์ ที่เรานำมาใช้ผลิต Chalawan Pale Ale มาเป็นตัวอย่างให้เห็นกันว่ากลิ่นเฉพาะที่พูดถึงนั้นมีอะไรกันบ้างครับ 1. Fuggles Hops ให้กลิ่นของยางไม้ และกลิ่นของดอกไม้อ่อนๆ ทำให้ได้ความรู้สึกเหมือนอยู่ท่ามกลางป่าที่มีพรรณไม้นานาๆ ชนิดโอบล้อมอยู่ 2. Columbus Hops ให้รสชาติและกลิ่นของสมุนไพรได้อย่างโดดเด่น เช่นพริกไทยดำ และเฮิร์ปชนิดอื่นๆ จากฮอปส์ตัวนี้ด้วย 3. Simcoe Hops มีความหอมคล้ายซิตรัสแบบบางๆ มาพร้อมกับกลิ่นของเกรปฟรุ๊ต ยางไม้ และ สมุนไพร 4. Cascade Hops ให้กลิ่นของดอกไม้ที่หอมชวนดม ที่มาคู่กับซิตรัสและเกรปฟรุ๊ต นับว่าเป็นฮอปส์ที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลกเลยทีเดียว

เป็นนักดื่มมือใหม่ เริ่มจากเบียร์แบบไหนดี?

เป็นนักดื่มมือใหม่ เริ่มจากเบียร์แบบไหนดี? คนส่วนมากที่กำลังจะก้าวเข้าสู่สายดื่มแน่นอนว่าต้องได้ลองเสิร์ชข้อมูลเกี่ยวกับเบียร์กันมาบ้าง แต่ก็มักจะโดนข้อมูลที่มีอยู่มากมายถาโถมใส่จนมึนไปหมด ว่าตกลงแล้วถ้าเราจะลองดื่มครั้งแรกเนี่ย เราควรเริ่มดื่มเบียร์แบบไหนดีล่ะ ตรงนี้ก็สามารถตอบให้ได้เลยว่าของแบบนี้ต้องดูกันที่สไตล์เบียร์ เพราะแต่ละสไตล์ก็จะมีการใช้วัตถุดิบ กรรมวิธีผลิต รวมถึงมีระดับแอลกฮอล์ ระดับความเข้มแตกต่างกันไป นอกจากลาเกอร์ซึ่งเป็นเบียร์ยอดนิยมและหาซื้อทั่วไปได้ง่ายที่สุดแล้ว ก็อยากจะแนะนำให้รู้จักเบียร์สไตล์ Hefeweizen (เฮเฟไวเซ่น) กันบ้าง เพราะเบียร์สไตล์นี้ก็เรียกได้ว่าเป็นเบียร์ที่ต่างประเทศนิยมดื่มกันอย่างกว้างขวาง และเป็นเบียร์ที่ติดอันดับที่มีคนส่งเข้าประกวดเยอะที่สุดเลยทีเดียว แล้วทำไม Hefeweizen ถึงเป็นที่นิยม? จริงๆ แล้ว Hefeweizen เป็นหนึ่งในประเภทย่อยของ Wheat beer ซึ่งจะผลิตด้วยข้าวสาลีเป็นหลักตามชื่อ ออกมาเป็นเบียร์ที่มีรสชาติเบาๆ และสีเหลืองอ่อนๆ ซึ่ง Hefeweizen เองก็ได้เอกลักษณ์ตรงนี้มาพร้อมด้วยกลิ่นหอมของผลไม้เมืองร้อนและซีตรัส (หรือจะมีกลิ่นอื่นๆ แล้วแต่ว่าเจ้าของอยากจะใส่อะไรลงไปให้มันแตกต่างจากคนอื่นก็ได้เหมือนกัน) และเบียร์สไตล์นี้ก็จะมีค่า IBU (มาตรวัดความขมของเบียร์) ในระดับที่อ่อนกว่าเบียร์สไตล์อื่น อย่าง IPA, Brown ale หรือ Pale ale ทำให้เบียร์สไตล์ Hefeweizen ค่อนข้างเป็นที่นิยมในวงกว้างเพราะรสชาติที่ดื่มง่าย สามารถดื่มได้เรื่อยๆ ในทุกโอกาสนั้นแหละ เลยขอแนะนำว่าถ้าใครอยากจะลองเริ่มต้นดื่มเบียร์ ก็ลองหาเบียร์สไตล์ Hefeweizen มาลองกันดูบ้างนะครับ

กัญชาอยู่ในเบียร์ได้ไหม?

เครื่องดื่มผสมกัญชา? ช่วงนี้เหมือนเราจะเห็นพวกอาหารและเครื่องดื่มที่โฆษณาว่าผสมกัญชาหรือกัญชงออกมาวางขายตามร้านค้าทั่วไปกันหนาตามากขึ้น สร้างความตื่นเต้นให้กับกลุ่มคนที่อยากรู้อยากลองกันจนเป็นกระแสใหญ่ๆ กันซักพักเลยทีเดียว แน่นอนว่าจะมีกลุ่มคนอีกส่วนที่ได้แต่สงสัย ว่าตกลงแล้วการเอากัญชามาใส่เนี่ยมันทำได้จริงเหรอ แล้วมันผิดกฎหมายไหมล่ะแบบนี้ โพสต์นี้ผมก็ไม่ได้มาให้คำอธิบายอะไรหรอกครับ เพราะเรื่องนี้เองก็เป็นรายละเอียดในการผลิตที่ผมเองก็ไม่ได้ไปนั่งดูอยู่กับเขา แต่มันแค่ทำให้ผมนึกไปถึงหลายปีก่อนที่โรงเบียร์ยักษ์ใหญ่ในอเมริกาอย่าง Lagunitas (ปัจจุบันเป็นบริษัทในเครือของ Heineken) ออกเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ที่ผสมสารจากกัญชาออกมาในชื่อ “HiFi Hops” ขึ้นมาเท่านั้นเอง ซึ่งตอนนั้นเรื่องนี้ก็ค่อนข้างเป็นที่ฮือฮามากในหลายๆ ที่รวมถึงประเทศไทย เพราะเข้าใจกันว่าสิ่งที่เขาทำออกมาขายนั้นเป็นเบียร์ ผู้คนเกือบทั่วทุกภูมิภาคก็เลยตื่นตาตื่นใจกับการที่เห็นเบียร์ใส่กัญชากันยกใหญ่ ซึ่งแหงล่ะว่ามันไปถูกใจชาวนักสูบสายเขียวเข้าอย่างจัง แต่เดี๋ยวก่อน กลับไปอ่านรายละเอียดสินค้ากันอีกครั้ง เครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์…เนี่ย ในเมื่อมัน ‘ไร้แอลกอฮอล์’ มันย่อมไม่ใช่เบียร์แน่นอนครับ! เพราะจริงๆ มันเป็นแค่น้ำโซดาเปล่าๆ ผสมกัญชาลงไปนิดๆ เท่านั้นเอง ถึงแม้ว่าบางรัฐในอเมริกาจะเปิดให้ใช้กัญชากันอย่างเสรีแล้วก็ตาม มันก็มีกฎเหล็กที่ว่า ‘เบียร์และกัญชาห้ามผสมอยู่ด้วยกัน’ ควบคุมเอาไว้อยู่อีกที เพราะยังไม่มีงานวิจัยไหนรับรองได้ 100% ว่าสารพัดสารที่อยู่ข้างในเมื่อผสมกันออกมาแล้วมันจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายนะครับ และจริงๆ แล้วไม่ใช่แค่ Lagunitas เท่านั้นด้วยที่พยายามทำสิ่งนี้ ก่อนหน้านี้ยังมีโรงเบียร์ในอเมริกาอีกมากมายที่ทดลองเอาสารในกัญชามาผสมลงในเครื่องดื่มต่างๆ แต่ก็ติดกฎเหล็กอย่างที่บอกไปกันทุกราย เลยทำกันได้แค่ต้มฮอปส์แบบไม่ใส่แอลกอฮอล์(ไม่มีแอล ก็ไม่นับเป็นเบียร์ เนี่ย เก่งจังชาวอเมริกา) แล้วใส่นิดผสมหน่อย หยดกลิ่นกัญชาเล็กน้อยให้ดื่มกันแบบฟินๆ เคลิ้มๆ พอหอมปากหอมคอ ซึ่งถ้าใครอ่านแล้วอยากจะลองบ้าง ก็คงจะต้องบินไปจิบกันถึงอเมริกา … Read more

ทำไมเบียร์ถึงมีชื่อเรียกเยอะแยะไปหมด?

มั่นใจว่าเกือบทุกคนต้องเคยเข้าไปเลือกซื้อของกินของใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ตกันอยู่บ้าง เลยอยากมาสอบถามว่ามีใครบ้างที่เคยไปหยุดยืนอยู่ที่ชั้นขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วมองเห็นว่ามีเบียร์สารพัดรูปแบบ สารพัดรสชาติให้เลือกเยอะแยะจนลายตาไปหมดเหมือนไปยืนอยู่หน้าตู้ขายเครื่องดื่มที่มีน้ำผสมวิตามินเรียงกันเป็นพรืด คนที่ไม่ใช่สายดื่มหรือเป็นคนดื่มแค่พอหายอยาก ไปยืนมองก็คงงงว่าเบียร์ก็คือเบียร์ไม่ใช่เรอะ มันก็ขมๆ มึนๆ เหมือนกัน ทำไมยี่ห้อนึงถึงมีหลายตัวเลือกนัก แล้วก็จบที่เดินกลับไปหยิบเบียร์เจ้าดังที่คุ้นเคยที่สุดใส่ตะกร้าจ่ายเงิน เอาตามจริง เบียร์เนี่ยก็เป็นศาสตร์นึงที่มีมิติที่น่าสนใจให้เรียนรู้หลายแขนง ตั้งแต่สไตล์เบียร์ คุณสมบัติต่างๆ ของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ รวมถึงเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย เลยทำให้บริวเวอร์ (Brewer) ทั่วโลกสนุกกับการสร้างสูตรและรสชาติแปลกใหม่ออกมาเพื่อสร้าง signature ให้แบรนด์ของตัวเองอยู่เสมอ คุณเอ็ม เฮดบริวเวอร์ผู้ออกแบบคราฟต์เบียร์ดังอย่างชาลาวัน เพลเอล ของแบรนด์ฟูลมูนบริวเวอร์ค เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “การทำเบียร์ก็เหมือนการปรุงอาหาร ยิ่งทำให้คนดื่มเข้าถึงและเข้าใจรสชาติได้ง่ายขึ้นเท่าไร โอกาสที่คนจะหยิบมาดื่มก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น และมันก็เป็นเรื่องปกติที่คนรักการทำเบียร์ย่อมอยากจะสร้างสรรค์รสชาติเบียร์ของตัวเองให้ดีและแปลกใหม่ขึ้นเสมอเพื่อสร้างความแตกต่าง อีกทั้งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้คนที่ชอบดื่มได้มาทดลองและสนับสนุนเบียร์ใหม่ ๆ เหล่านั้น” เมื่อปลายปี 2020 ที่ผ่านมาพวกเราก็เคยออกสินค้าลิมิเต็ดอย่าง โจรห้ารส มิลก์เชก ไอพีเอ ซึ่งเบียร์สไตล์ มิลก์เชก ไอพีเอ (Milkshake IPA) ก็เพิ่งจะเริ่มเป็นที่พูดถึงกันในแวดวงคราฟต์เบียร์ได้ไม่นานนี้เอง เป็นอีกสไตล์ที่แตกไอเดียออกมาจากคราฟต์เบียร์สไตล์หลักอย่างไอพีเอ (IPA) ที่บางคนอาจจะรู้สึกว่าดื่มยากเพราะรสชาติที่เข้มข้นของฮอปส์ ก็เลยพัฒนา มิลก์เชก ไอพีเอให้ดื่มกันได้ง่ายขึ้น ซึ่งจุดเด่นอย่างหนึ่งของเบียร์นี้คือการนำน้ำตาลแลกโตสที่พบได้ในนมมาเป็นส่วนผสมพิเศษที่ช่วยให้รู้สึกได้ว่าเนื้อสัมผัสของเบียร์จะนุ่ม ๆ เนียน … Read more