วัตถุดิบลับที่ใช้ผลิตเบียร์ Andaman Phuket Dark Ale

เกริ่นมาแบบนี้แน่นอนว่าคราฟท์เบียร์ของเราก็มีวัตถุดิบพิเศษหลายอย่างที่นำมาใช้ในการผลิตเช่นกัน ผมขอยก “อันดามัน ภูเก็ต ดาร์กเอล” มาเล่าให้ฟังละกัน เหตุผลที่อยากเล่าถึงคราฟท์เบียร์ตัวนี้เพราะเป็นเบียร์ที่เราใช้วัตถุดิบที่แสนจะพิเศษและเป็นแรร์ไอเท็ม “Crisp No.19 Floor-Malted Maris Otter” มอลต์ที่ใช้วิธีการบ่มแบบดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปีค.ศ.1855 จากโรงมอลต์ในประเทศอังกฤษ และเนื่องจาก Floor Malted จากที่นี่เป็น Original ของ Floor Malting เพราะฉะนั้นโรงเบียร์ที่ต้องการมอลต์นี้ต้องต่อคิวจองกันนานข้ามปี (บางครั้งก็หลายปีเลยทีเดียว) แล้วมันแตกต่างจากมอลต์ของที่อื่นยังไง? ความพิเศษมันอยู่ที่ปัจจุบันนี้แทบจะไม่มีโรงมอลต์ที่ไหนในโลกใช้วิธีแบบ Floor Malting กันแล้วเพราะแต่ละขั้นตอนการบ่มนั้นละเอียดอ่อน และต้องอาศัยแรงงานคนทั้งกระบวนการ ทำให้โรงมอลต์ที่จะสืบทอดวิชานี้เหลือน้อยลงทุกที ผลผลิตที่ได้ในแต่ละปีจึงมีจำกัด ซึ่งมอลต์ที่ได้จากการบ่มแบบนี้ก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะ ให้รสชาติเข้มข้น รสสัมผัสที่นุ่มนวล เป็นที่นิยมของโรงเบียร์ในอังกฤษ เดี๋ยวผมจะแปะอินโฟกราฟิกขั้นตอนการบ่มของเขาไว้ข้างใต้โพสต์นี้นะครับ ทุกคนจะได้พอจะเห็นภาพคร่าวๆ กัน ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.warminster-malt.co.uk/the-traditional-malting-process ส่วนสาเหตุที่เราเลือกมอลต์จากที่นี่มาใช้ในการผลิตอันดามัน ภูเก็ต ดาร์กเอล ก็ต้องเล่าย้อนไปถึงความแตกต่างระหว่าง Old Beers World (เบียร์โลกเล่า) กับ New Beers World (เบียร์โลกใหม่) ก่อน … Read more

ไขข้อข้องใจ ในคราฟท์เบียร์มีค่าอะไรซ่อนอยู่?

ทุกคนที่เคยดื่มเบียร์มาคงต้องเคยสงสัยอยู่บ้างว่าทำไมเบียร์บางตัวถึงมีราคาสูงนัก เพราะเป็นยี่ห้อดังหรือเป็นสินค้านำเข้างั้นเหรอ โดยเฉพาะเบียร์ที่เขาเรียกกันว่า ‘คราฟต์เบียร์’ เนี่ย ทำไมแพงกว่าเบียร์ปกติเยอะนักล่ะ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจในความแตกต่างระหว่าง ‘Commercial Beer’ และ ‘Craft Beer’ กันก่อนดีกว่าครับ Commercial Beer นั้นก็คือเบียร์ของผู้ผลิตรายใหญ่ที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดี ตามระเบียบข้อกำหนดของกรมสรรพสามิตของไทยกำหนดให้โรงงานระดับนี้ต้องผลิตในปริมาณไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งโรงงานก็จะมีเทคโนโลยีทันสมัยและมีศักยภาพในการผลิตสูง ควบคุมมาตรฐานได้สม่ำเสมอ สามารถผลิตเบียร์ออกมาได้หลายล้านลิตรต่อครั้ง และเน้นผลิตเบียร์สไตล์ลาเกอร์ (Lager) เป็นเบียร์หลักหรืออาจจะเป็นเบียร์เพียงตัวเดียว ทำให้วัตถุดิบที่ซื้อมีน้อยชนิด ทำให้สามารถซื้อครั้งละมากๆได้ในราคาดี ขณะที่ Craft beer ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ผลิตเบียร์รายย่อยที่ต้องการสร้างเอกลักษณ์ของเบียร์ตัวเองและนำเสนอรสชาติและสไตล์ที่แตกต่างจากเบียร์ลาเกอร์ทั่วไปตามท้องตลาด ซึ่งปกติแล้วการผลิตเบียร์สไตล์แปลกตามรูปแบบคราฟต์เบียร์จะตามมาด้วยขั้นตอนการผลิตและวัตถุดิบที่ยุ่งยากกว่า มักใช้เวลาในการผลิตนานกว่าเบียร์ทั่วไป ผลิตหลายสไตล์ในจำนวนน้อย ทำให้วัตถุดิบที่ซื้อมากชนิดแต่ในจำนวนน้อยก็ทำให้ราคาสูง ประกอบกับเทคโนโลยีการผลิตที่จำกัดทำให้กำลังการผลิตต่ำ ดังนั้นเมื่อเทียบต้นทุนลิตรต่อลิตรย่อมสูงกว่าที่ผลิตจากโรงเบียร์รายใหญ่ โดยตามข้อกำหนดจากกรมสรรพสามิตของไทยกำหนดให้โรงเบียร์ขนาดเล็กผลิตไม่ต่ำกว่า 1 แสนลิตรต่อปีแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี ในเรื่องของราคา ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าคราฟต์เบียร์ราคาสูงโดยเฉพาะยี่ห้อจากต่างประเทศก็เพราะเชื่อว่าต้องจ่ายภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงบวกกับค่าขนส่งจากฝั่งทวีปยุโรปและอเมริกาทำให้ผู้บริโภคหลายคนทำใจยอมรับราคาที่สูงนี้ แต่ผู้บริโภคอีกหลายคนก็ตั้งข้อสงสัยได้ว่าแล้วทำไมแบรนด์ที่ผลิตในประเทศไทยหรือเพื่อนบ้านกลับมีราคาที่สูงและบางครั้งก็ยังสูงกว่าแบรนด์เมืองนอกทั้งหลายทั้งที่ไม่ต้องจ่ายภาษีนำเข้าแล้ว เราจะมาไขข้อข้องใจส่วนนี้ในมุมของผู้ประกอบการที่หลายคนอาจจะไม่เคยทราบกันครับ อันดับแรกผู้ที่จะทำธุรกิจ craft beer ของตัวเองนั้นต้องยอมรับข้อเท็จจริงก่อนว่าผลตอบแทนในการการลงทุนอาจจะไม่คุ้มหรือคืนทุนในเวลาอันสั้นแน่นอน ซึ่งผู้ประกอบการส่วนมากก็ยอมรับและลงมือทำด้วยความหลงใหลในธุรกิจนี้และอยากให้ผู้บริโภคมีทางเลือกเบียร์ที่ดี เมื่อเทียบความนิยมและขนาดของตลาดคราฟต์เบียร์ที่มีอยู่ในวงแคบๆในเมืองไทย บวกกับข้อกำหนดทางกฎหมายที่ซับซ้อนและเงินลงทุนสูง ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเลือกไปลงทุนในรูปแบบจ้างผลิตหรือไปตั้งฐานการผลิตในประเทศที่ข้อจำกัดน้อยกว่า ซึ่งส่วนมากก็จะนิยมเลือกแหล่งผลิตในประเทศที่มีข้อยกเว้นทางภาษีนำเข้าเป็นจุดเริ่มต้น … Read more

Loylom
Tropic IPA

STYLE – IPA
ABV 6.5% | IBU 65
NOTES – Guava, Passionfruit, Juicy hops notes. Bold & Sweet. Long lasting finished.

Chinook
IPA

STYLE – American IPA
ABV 6.4% | IBU 65
NOTES – Huge citrus, floral notes. Solid special malts in the back bone.

JoneHaRos กลับขึ้นชั้นอีกครั้ง แฟนๆ รีบไปตามจับกันด่วน!

JoneHaRos Milkshake IPA คราฟต์เบียร์ฉลากสีเหลืองเด่นเตะตาซึ่งเป็น Limited Release ปีที่แล้วของพวกเราได้กลับมาวางขายอีกครั้งในราคา 159 บาท ทุกคนสามารถไปตามหากันได้ที่ Tops, Makro และ Gourmet market ทั่วประเทศ ถึงแม้จะเป็นการวางขายรอบที่สองแต่ถ้าขายหมดแล้วก็หมดเลย ไม่ผลิตเพิ่มอีกแล้ว!