ไขข้อข้องใจ ในคราฟท์เบียร์มีค่าอะไรซ่อนอยู่?

ทุกคนที่เคยดื่มเบียร์มาคงต้องเคยสงสัยอยู่บ้างว่าทำไมเบียร์บางตัวถึงมีราคาสูงนัก เพราะเป็นยี่ห้อดังหรือเป็นสินค้านำเข้างั้นเหรอ โดยเฉพาะเบียร์ที่เขาเรียกกันว่า ‘คราฟต์เบียร์’ เนี่ย ทำไมแพงกว่าเบียร์ปกติเยอะนักล่ะ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจในความแตกต่างระหว่าง ‘Commercial Beer’ และ ‘Craft Beer’ กันก่อนดีกว่าครับ Commercial Beer นั้นก็คือเบียร์ของผู้ผลิตรายใหญ่ที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดี ตามระเบียบข้อกำหนดของกรมสรรพสามิตของไทยกำหนดให้โรงงานระดับนี้ต้องผลิตในปริมาณไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งโรงงานก็จะมีเทคโนโลยีทันสมัยและมีศักยภาพในการผลิตสูง ควบคุมมาตรฐานได้สม่ำเสมอ สามารถผลิตเบียร์ออกมาได้หลายล้านลิตรต่อครั้ง และเน้นผลิตเบียร์สไตล์ลาเกอร์ (Lager) เป็นเบียร์หลักหรืออาจจะเป็นเบียร์เพียงตัวเดียว ทำให้วัตถุดิบที่ซื้อมีน้อยชนิด ทำให้สามารถซื้อครั้งละมากๆได้ในราคาดี ขณะที่ Craft beer ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ผลิตเบียร์รายย่อยที่ต้องการสร้างเอกลักษณ์ของเบียร์ตัวเองและนำเสนอรสชาติและสไตล์ที่แตกต่างจากเบียร์ลาเกอร์ทั่วไปตามท้องตลาด ซึ่งปกติแล้วการผลิตเบียร์สไตล์แปลกตามรูปแบบคราฟต์เบียร์จะตามมาด้วยขั้นตอนการผลิตและวัตถุดิบที่ยุ่งยากกว่า มักใช้เวลาในการผลิตนานกว่าเบียร์ทั่วไป ผลิตหลายสไตล์ในจำนวนน้อย ทำให้วัตถุดิบที่ซื้อมากชนิดแต่ในจำนวนน้อยก็ทำให้ราคาสูง ประกอบกับเทคโนโลยีการผลิตที่จำกัดทำให้กำลังการผลิตต่ำ ดังนั้นเมื่อเทียบต้นทุนลิตรต่อลิตรย่อมสูงกว่าที่ผลิตจากโรงเบียร์รายใหญ่ โดยตามข้อกำหนดจากกรมสรรพสามิตของไทยกำหนดให้โรงเบียร์ขนาดเล็กผลิตไม่ต่ำกว่า 1 แสนลิตรต่อปีแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี ในเรื่องของราคา ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าคราฟต์เบียร์ราคาสูงโดยเฉพาะยี่ห้อจากต่างประเทศก็เพราะเชื่อว่าต้องจ่ายภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงบวกกับค่าขนส่งจากฝั่งทวีปยุโรปและอเมริกาทำให้ผู้บริโภคหลายคนทำใจยอมรับราคาที่สูงนี้ แต่ผู้บริโภคอีกหลายคนก็ตั้งข้อสงสัยได้ว่าแล้วทำไมแบรนด์ที่ผลิตในประเทศไทยหรือเพื่อนบ้านกลับมีราคาที่สูงและบางครั้งก็ยังสูงกว่าแบรนด์เมืองนอกทั้งหลายทั้งที่ไม่ต้องจ่ายภาษีนำเข้าแล้ว เราจะมาไขข้อข้องใจส่วนนี้ในมุมของผู้ประกอบการที่หลายคนอาจจะไม่เคยทราบกันครับ อันดับแรกผู้ที่จะทำธุรกิจ craft beer ของตัวเองนั้นต้องยอมรับข้อเท็จจริงก่อนว่าผลตอบแทนในการการลงทุนอาจจะไม่คุ้มหรือคืนทุนในเวลาอันสั้นแน่นอน ซึ่งผู้ประกอบการส่วนมากก็ยอมรับและลงมือทำด้วยความหลงใหลในธุรกิจนี้และอยากให้ผู้บริโภคมีทางเลือกเบียร์ที่ดี เมื่อเทียบความนิยมและขนาดของตลาดคราฟต์เบียร์ที่มีอยู่ในวงแคบๆในเมืองไทย บวกกับข้อกำหนดทางกฎหมายที่ซับซ้อนและเงินลงทุนสูง ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเลือกไปลงทุนในรูปแบบจ้างผลิตหรือไปตั้งฐานการผลิตในประเทศที่ข้อจำกัดน้อยกว่า ซึ่งส่วนมากก็จะนิยมเลือกแหล่งผลิตในประเทศที่มีข้อยกเว้นทางภาษีนำเข้าเป็นจุดเริ่มต้น … Read more